องค์การอนามัยโลก(WHO) และองค์การสหภาพต่อต้านมะเร็งระหว่างประเทศ(UICC)
ได้กำหนดให้วันที่ 4 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็นวันมะเร็งโลก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนทั่วโลก มีความรู้ มีทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับโรคมะเร็ง และสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับโรคมะเร็งได้แก่“มะเร็งสามารถป้องกันได้” ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกระบุว่าโรคมะเร็งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตเป็นอันดับหนึ่งของคนทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งพบในกลุ่มประเทศที่มีรายได้น้อยถึงปานกลางถึงร้อยละ 70 ของคนทั่วโลก และมีแนวโน้มเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยคาดการณ์ว่า ใน ปี 2573 ทั่วโลก จะมีคนตายจากโรคมะเร็ง ถึง 13 ล้านคนต่อ หากทุกประเทศยังไม่มีมาตรการการป้องกันโรคและควบคุมโรคที่มีประสิทธิภาพอย่างจริงจัง
- เมื่อเจ็บป่วยด้วยโรคมะเร็งไม่ควรเล่าให้ใครฟัง หรือเมื่อมีคนรู้จักเป็นโรคมะเร็งไม่ควรเล่าให้คนอื่นฟัง
การบอกความอาจทำให้เกิดความวิตกกังวล ความเครียด หรือซึมเศร้าได้ แต่ก็จะช่วยให้ บุคคลในครอบครัวสามารถหาทางให้การดูแล ให้กำลังใจ ทำให้สามารถกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างมีคุณภาพชีวิตดียิ่งขึ้น - โรคมะเร็งไม่มีสัญญาณเตือน ไม่มีอาการบ่งบอกว่าจะเป็น
ถึงแม้โรคมะเร็งส่วนใหญ่ จะไม่มีอาการหรือสัญญาณเตือนในระยะเริ่มแรก แต่โรคมะเร็งบางชนิด เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็งผิวหนัง มะเร็งช่องปาก และมะเร็งลำไส้ใหญ่ รวมถึงมะเร็งในเด็กบางชนิด สามารถตรวจค้นหาได้ในระยะเริ่มแรก ทำให้ผลการรักษาและการหายจากโรคมะเร็งสูงกว่าการวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็งในระยะท้าย - เราไม่สามารถป้องกันหรือทำอะไรกับโรคมะเร็งได้เลย
หนึ่งในสามของโรคมะเร็งที่พบบ่อยสามารถป้องกันได้ โดยมีวิธีการหลายอย่างที่สามารถทำได้เองในระดับบุคคล รวมถึงระดับชุมชน หรือระดับนโยบาย ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้ชีวิตที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งและสามารถป้องกันได้ - เราไม่มีสิทธิ ไม่มีโอกาส เข้าถึงการรักษาโรคมะเร็ง
ประชาชนทุกคน ไม่ว่าจะรวยหรือจน มีสิทธิและสามารถเข้ารับการรักษาโรคมะเร็งที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียมกัน โรคมะเร็ง เป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ ดังนั้นการสร้างความรู้ที่ถูกต้องรวมทั้งสร้างความตระหนักในการป้องกันโรคดังกล่าวถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งซึ่งจะส่งผลถึงการลดอุบัติการณ์การเกิดโรคมะเร็งในอนาคต
ข้อมูล: โรงพยาบาลมะเร็งลำปาง