Our Articles

We will never stop becoming intelligence

หากไม่มีข้อความที่ชัดเจนหรือไม่ลงจำนวนเงินเป็นลายลักษณ์อักษร ห้ามเซ็นชื่อเด็ดขาด เพราะเอกสารการกู้ยืม มีผลต่อการฟ้องร้องตามกฏหมาย

สัญญากู้ยืมเงินหรือหลักฐานการกู้ยืมจะอยู่ในรูปของ หนังสือ จดหมาย เอกสารที่เขียนขึ้นเอง หรือจะอยู่ในรูปแบบของฟอร์มทางการก็ได้แต่จำเป็นต้องมีองค์ประกอบในสัญญา ดังนี้

• วันที่ทำสัญญากู้เงิน
ชื่อผู้กู้และชื่อผู้ให้กู้
• จำนวนเงินที่กู้
• กำหนดการชำระคืน
• ดอกเบี้ยต่อเดือน/ต่อปี (ถ้ามี)
• ลายเซ็นผู้กู้
• ลายเซ็นผู้ให้กู้ (มีหรือไม่มีก็ได้)

ปกติแล้วองค์ประกอบที่เกล่าวมา เพียงพอแล้วสำหรับสัญญาการกู้ยืมเงิน แต่ถ้าอยากให้มีละเอียดอื่นๆ ก็สามารถทำได้ เช่น สถานที่ทำสัญญา ผลของการผิดสัญญา และพยานในการทำสัญญา

ก่อนเซ็นต์สัญญาทุกครั้ง โดยเฉพาะสัญญาที่มีเรื่องเงินมาเกี่ยวข้อง ต้องอ่านทำความเข้าใจเนื้อหาในสัญญาทุกบรรทัดอย่างรอบครอบ เพราะเจ้าหนี้บางคนอาจพิมพ์ข้อความในสัญญาด้วยข้อกฎหมายที่เข้าใจยาก ซึ่งหากไม่วิเคราะห์ให้ถี่ถ้วนก็อาจทำให้คุณเสียเปรียบได้ และควรระวังสัญญากู้ยืมเงินที่มีการเว้นช่องว่างไว้เฉพาะจุด

ก่อนเซ็นต์สัญญากู้ยืมเงิน ต้องตรวจสอบรายละเอียด การเว้นวรรค หรือช่องไฟระหว่างคำ หากพบว่ามีการเว้นวรรคหรือมีการเว้นช่องว่างที่ผิดปกติ อย่าเพิ่งเซ็นต์ลายมือชื่อลงไป เพราะช่องว่างเหล่านี้อาจมาจากเจ้าหนี้หัวหมอ ที่อาจนำสัญญาไปเติมแต่งข้อความลงไปหลังจากได้ลายเซ็นของเราไปแล้ว อาจทำให้เราเสียเปรียบมีภาระหนี้หรือดอกเบี้ยเพิ่มมากขึ้น

อ้างอิง : ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หมวด 2 ยืมใช้สิ้นเปลือง มาตรา 650 – 656 https://www.krisdika.go.th/librarian/get?sysid=567410&ext=pdf&fbclid=IwAR2hxJkVfiy06i6USX-2n6ZTSUsV7wWvgQojzkrC4A9yzBPGG2n4pqqeNcE

ที่มา: สำนักงานกิจการยุติธรรม


Location

เลขที่ 455/81
ถนนพัฒนาการ
แขวงประเวศ เขตประเวศ กรุงเทพฯ 10250

View on Google Map

Contact

ฝ่ายขาย : 094 943 4444 , 065 626 4629
ฝ่ายบุคคล : 097 251 6347, 091 769 6189
ศูนย์ฝึกอบรมฯ : 02 005 1185, 02 130 6481-2

Email : [email protected]

Line QR Code