Our Articles

We will never stop becoming intelligence

เด็กทำความผิด พ่อแม่ต้องรับผิดชอบหรือไม่? | Podcast


ฟัง Podcast จาก Justice Channel ที่นี่


ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา2(4) ผู้เสียหายคือบุคคลผู้ไดร้ับ ความเสียหาย เนื่องจากการกระทําผิดฐานใดฐานหนึ่ง รวมทั้งบุคคลอื่นที่มีอํานาจจัดการแทน ได้ บัญญัติไว้ใน มาตรา 4 มาตรา 5 และ มาตรา 6 จากบทบัญญัติของกฎหมายผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มี 2 ประเภท คือ ผู้เสียหายโดยตรง และผู้มีอํานาจจัดการแทนผู้เสียหาย ตาม มาตรา 4 , 5, 6 ดังนั้น เมื่อผู้เยาว์ตกเป็นผู้เสียหายถือเป็นผู้เสียหายโดยตรง แต่ตามกฎหมายแล้วจะ ไปทําการฟ้องคดีเองไม่ได้ จึงต้องมีบทกฎหมายกําหนดให้มีผู้ฟจัดการแทน แบ่งได้ดังนี้


อํานาจจัดการแทนโดยอํานาจกฎหมาย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5 บุคคลเหล่านี้จัดการแทนผู้เสียหายได้

1. ผู้แทนโดยชอบธรรม หรือผู้อนุบาล เฉพาะแต่ในความผิดซึ่งได้กระทําต่อผู้เยาว์หรือ ผู้ไร้ความสามารถซึ่งอยู่ในความดูแล ผู้แทนโดยชอบธรรม หมายถึง บิดามารดา (บิดาต้องชอบด้วยกฎหมาย) ผู้ปกครองผู้รับบุตรบุญธรรม 2. ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน สามีหรือภริยาเฉพาะแต่ในความผิดอาญา ซึ่งผู้เสียหายถูก ทําร้ายถึงตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจะจัดการเองได้อํานาจจัดการแทนโดยคําสั่งของศาล ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความคดีอาญา มาตรา 6 วรรคหนึ่ง "ในคดีอาญาซึ่งผู้เสียหายเป็นผู้เยาว์ไม่มีผู้แทนโดยชอบธรรม หรือเป็นผู้ วิกลจริตหรือคนไร้ความสามารถไม่มีผู้อนุบาล หรือซึ่งผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้อนุบาลไม่ สามารถจะทําการตามหน้าที่โดยเหตุหนึ่งเหตุใด รวมทั้งมีผลประโยชน์ขัดกันกับผู้เยาว์หรือคน ไร้ความสามารถนั้นๆ ญาติของผู้นั้น หรือผู้มีประโยชน์เกี่ยวข้องอาจร้องต่อศาลขอให้ตั้งเขา เป็นผู้แทนเฉพาะคดีได้ ถือเป็นบทแก้ปัญหา

สรุปได้ว่า คดีเกี่ยวกับเด็กหรือผู้เยาว์นั้น แม้จะไม่สามารถฟ้องคดีอาญาได้ด้วยตนเอง แต่กฎหมายกําหนดให้มีผู้มีอํานาจจัดการแทนโดยอํานาจกฎหมาย และอํานาจจัดการแทนโดย คําสั่งของศาล ซึ่งจะเป็นการใช้อํานาจจัดการแทนกรณีใดก็ย่อมขึ้นกับข้อเท็จจริงในคดีนั้น ๆ ไป

ประเด็นสําคัญของกรณีเด็กหรือผู้เยาว์ มีดังนี้

1. กรณีบิดาไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่สามารถจัดการแทนผู้เยาวได้ ดังกรณีต่อไปนี้ บิดาของผู้เยาว์ซึ่งไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับมารดาของผู้เยาว์ทั้งไม่ได้จดทะเบียนว่าผู้เยาว์เป็น บุตร หรือศาลพิพากษาว่าผู้เยาว์เป็นบุตร ไม่เป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ที่จะมีอํานาจ ฟ้องคดีแทนผู้เยาว์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5 (1) (ฎ. 1405/2512)

แต่สําหรับกรณีที่ผู้เยาว์ถูกทําร้ายจนถึงความตาย แม้บิดาจะไม่ได้เป็นบิดาโดยชอบ ประเด็นสําคัญของกรณีเด็กหรือผู้เยาว์ มีดังนี้ ด้วยกฎหมาย ถือตามความเป็นจริงโดยสายโลหิต บิดาก็สามารถฟ้องคดีแทนได้ ยกตัวอย่าง แม้ผู้ตายจะมิใช่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ แต่โจทก์ก็เป็นผู้บุพการีของผู้ตายตาม ความเป็นจริง เมื่อผู้ตายถูกจําเลยทําร้ายถึงแก่ความตาย โจทก์ซึ่งเป็นผู้บุพการีตามความเป็น จริงของผู้ตายย่อมมีอํานาจฟ้องคดีแทนผู้ตายได้ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 12/2516) (ฎ. 1384/2516)

2. ผู้เยาว์จะเป็นโจทก์ฟ้องคดีความเองมิได้ (ฎ. 1123/2517) ผู้เสียหายเป็นผู้เยาว์ เข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการโดยบิดาให้ความยินยอมนั้น มิได้เป็นไปตามบทบังคับอัน ว่าด้วยความสามารถของบุคคลตามกฎหมาย เพราะในคดีอาญานั้นผู้เยาว์จะเข้าร่วมเป็น โจทก์ได้ต้องกระทําโดยผู้แทน ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 3, 5 และ 6 (ผู้เยาว์ฟ้องคดีเองไม่ได้) (ฎ. 112/2479 , 563/2517)

3. ผู้เยาว์อายุ 18 ปี ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน โดยไม่ต้องให้ผู้แทนโดยชอบ ธรรม ลงลายมือชื่อในการร้องทุกข์ด้วย ก็ใช้ได้ (ฎ. 1982/2494) กรณีที่ผู้เยาว์ร้องทุกข์ได้ ใน กรณีที่ผู้เยาว์อายุ 17-18 ปี ซึ่งเป็นผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานด้วยตนเอง จนมีการ สอบสวนและอัยการได้ดําเนินการฟ้องคดีความผิดต่อส่วนตัวอันกระทําแก่ผู้เยาว์ฐานข่มขืน กระทําชําเราแล้วบิดาของผู้เยาว์ยื่นคําร้องต่อศาลขอถอนคําร้องทุกข์ ซึ่งเป็นการขัดขืนฝืน ความประสงค์ของผู้เยาว์นั้น ศาลย่อมพิเคราะห์ตามรูปเรื่องแห่งคดีนี้เห็นว่าบิดาไม่มีอํานาจ ถอนคําร้องทุกข์ที่ผู้เยาว์ได้ยื่นไว้ โดยฝืนความประสงค์ของผู้เยาว์ (ฎ. 214/2494)

สรุปได้ว่า ไม่มีกฎหมายเกี่ยวกับการร้องทุกข์ของผู้เยาว์ต้องได้รับความยินยอมจาก บิดามารดาหรือผู้แทนโดยชอบธรรมหรือบุคคลดังกล่าว ต้องลงลายมือชื่อในการร้องทุกข์ของผู้เยาว์ด้วย ดังนั้น ผู้เยาว์จึงมีอํานาจร้องทุกข์ด้วยตนเองได้ (ฎ. 3915/2551)

ที่มา: Justice Channel

Location

เลขที่ 455/81
ถนนพัฒนาการ
แขวงประเวศ เขตประเวศ กรุงเทพฯ 10250

View on Google Map

Contact

ฝ่ายขาย : 094 943 4444 , 065 626 4629
ฝ่ายบุคคล : 097 251 6347, 091 769 6189
ศูนย์ฝึกอบรมฯ : 02 005 1185, 02 130 6481-2

Email : [email protected]

Line QR Code