โฆษกรัฐบาลเผย นายกฯ กำชับระดมเร่งแก้ไขปัญหาไฟป่า-หมอกควันพื้นที่ภาคเหนือ ลด PM2.5 อย่างเร่งด่วน
บังคับใช้กฎหมายลงโทษผู้กระทำผิดเผาป่า หรือกระทำใด ๆ ที่ทำให้เกิดไฟป่าอย่างไม่ละเว้น
วันที่ 27 มีนาคม 2566 นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ติดตามและไม่ได้นิ่งนอนใจต่อกรณีสถานการณ์ไฟป่าและหมอกควันในจังหวัดพื้นที่ภาคเหนือที่วิกฤติ ส่งผลให้ค่าฝุ่น PM2.5 เกินมาตรฐาน กระทบต่อสุขภาพของประชาชนในขณะนี้ โดยนายกรัฐมนตรีได้กำชับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องระดมเร่งแก้ไขปัญหา เพื่อลดผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อประชาชนเป็นวงกว้างอย่างเร่งด่วนให้ทันต่อสถานการณ์ รวมทั้งบังคับใช้กฎหมายลงโทษผู้กระทำความผิดในการเผาป่าหรือการกระทำใด ๆ ที่ทำให้เกิดไฟป่าอย่างไม่ละเว้น
นายอนุชากล่าวว่า จากสถานการณ์ไฟป่าและหมอกควันในจังหวัดพื้นที่ภาคเหนือในขณะนี้ ภาครัฐโดยหน่วยปฏิบัติการฝนหลวง จังหวัดเชียงใหม่ ได้ขึ้นบินปฏิบัติการทำฝนเทียมต่อเนื่อง ในพื้นที่ประสบปัญหา 5 จังหวัดทางภาคเหนือที่วิกฤตหนักเกินมาตรฐานต่อเนื่อง ที่ล่าสุด PM2.5 ทะลุ 525 ไมครอน โดยใช้เครื่องบินเกษตร ชนิด CASA จำนวน 2 ลำ ขึ้นปฏิบัติการช่วงเวลาตั้งแต่ 10.15 น. วันที่ 26 มีนาคม 2566 ที่ผ่านมา ทำฝนหลวงในบริเวณพื้นที่เป้าหมาย จำนวน 26 พื้นที่ เพื่อช่วยบรรเทาปัญหาหมอกควันและไฟป่า และช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรที่ต้องการน้ำ โดยเน้นไปยังพื้นที่ป่าไม้ตอนเหนือของจังหวัดเชียงใหม่ อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ต่อไปยังพื้นที่ป่าไม้ อำเภอเมืองเชียงราย และพื้นที่การเกษตร อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย แล้วบินกลับมาทำฝนหลวงทางตอนใต้ของพื้นที่ป่าไม้ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน รอยต่อพื้นที่ป่าไม้ อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน และอำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ ก่อนจะลงไปทำฝนหลวงต่อยังพื้นที่การเกษตร อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง เนื่องจากในพื้นที่ดังกล่าวมีปัญหาด้านมลพิษทางอากาศ ทำให้ต้องเร่งทำให้เกิดฝนตกลงมาเพื่อชะล้างฝุ่นควัน ลดปริมาณฝุ่นควันให้ลดลง พร้อมกับทำความชุ่มชื้นในพื้นที่ป่า เพื่อไม่ให้เกิดไฟป่าเกิดขึ้นในพื้นที่ดังกล่าว ขณะที่ค่ามลพิษทางอากาศภาคเหนือเวลานี้มีค่าเกินมาตรฐานท่ามกลางสภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าว
นายอนุชากล่าวต่อไปว่า สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA เผยข้อมูลจากดาวเทียมซูโอมิ เอ็นพีพี (Suomi NPP) ของวันที่ 26 มีนาคม 2566 ไทยพบจุดความร้อน (Hot Spots) มากที่สุด 5,572 จุด สูงสุดในรอบ 5 ปี จากการเก็บสถิติที่ผ่านมา ในขณะที่เพื่อนบ้านอย่างเมียนมามีจุดความร้อนสูงถึง 10,563 จุด ตามด้วย สปป.ลาว 9,652 จุด กัมพูชา 1,342 จุด เวียดนาม 870 จุด และมาเลเซีย 22 จุด สำหรับจุดความร้อนในประเทศไทย ส่วนใหญ่พบในพื้นป่าอนุรักษ์ 2,982 จุด พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ 1,785 จุด พื้นที่เกษตร 376 จุด พื้นที่ชุมชนอื่น ๆ 207 จุด พื้นที่เขต สปก. 202 จุด และพื้นที่ริมทางหลวง 20 จุด ในส่วนของจังหวัดที่พบจุดความร้อนมากที่สุด 3 อันดับ คือ น่าน 638 จุด แม่ฮ่องสอน 558 จุด และอุตรดิตถ์ 430 จุด
นอกจากนี้ ศูนย์แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ ได้รายงานการติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศ ประจำวันที่ 27 มีนาคม 2566 ณ เวลา 07.00 น. ภาพรวมปริมาณ PM 2.5 ในประเทศพบเกินค่ามาตรฐานในจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ น่าน แม่ฮ่องสอน พะเยา ลำพูน ลำปาง แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก ตาก กำแพงเพชร พิจิตร เพชรบูรณ์ อุทัยธานี บึงกาฬ หนองคาย เลย อุดรธานี นครพนม หนองบัวลำภู ชัยภูมิ และอุบลราชธานี โดยภาคเหนือเกินค่ามาตรฐานเป็นส่วนใหญ่ ตรวจวัดได้ 37 - 537 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเกินค่ามาตรฐาน 8 พื้นที่ ตรวจวัดได้ 31 - 218 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
“นายกรัฐมนตรีขอความร่วมมือไปยังประชาชนที่ทำเกษตร หรือทำอาชีพในพื้นที่ป่า ซึ่งในช่วงนี้เป็นช่วงหน้าแล้ง ขอให้ช่วยกันระวัง ถ้าไม่จำเป็นก็อย่าจุดไฟโดยเฉพาะในพื้นที่ป่า เพราะหากเกิดเหตุแล้วความสูญเสียจะประมาณค่าไม่ได้ รวมทั้งนายกรัฐมนตรีได้กำชับไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้ง กระทรวงมหาดไทย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงการต่างประเทศ จังหวัด เทศบาล หน่วยเฉพาะกิจ บูรณาการร่วมมือกันจัดการปัญหาหมอกควัน PM2.5 ตามแผนปฏิบัติการอย่างเร่งด่วนเพื่อลดปริมาณฝุ่นละออง รวมทั้งขอให้เจ้าหน้าที่อาสาสมัครป้องกันไฟป่า ในพื้นที่ชายแดน ช่วยกันระดมดับไฟป่าบริเวณเส้นทางลัดเลาะชายแดน ที่มีไฟป่าลุกลามมาจากประเทศเพื่อนบ้านหลายจุดอย่างต่อเนื่อง พร้อมย้ำการบังคับใช้กฎหมายลงโทษผู้กระทำความผิดในการเผาป่าหรือการกระทำใด ๆ ที่ทำให้เกิดไฟป่าซึ่งสร้างความเสียหายแก่ป่าไม้และพื้นที่การเกษตร ส่งผลให้กลุ่มควันลอยปกคลุมในบริเวณกว้างและเกิดฝุ่น PM 2.5 อย่างไม่ละเว้น” นายอนุชา กล่าว
ทั้งนี้ ปัญหาไฟป่าที่เกิดจากการจุดไฟในพื้นที่ไร่ จุดไฟในพื้นที่เขตป่า จุดไฟเพื่อล่าสัตว์ หรือเพื่อเก็บของป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช มีแนวทางลงโทษตั้งแต่สถานเบาไปจนถึงหนัก เริ่มตั้งแต่การตักเตือนจนถึงขั้นดำเนินคดีตามกฎหมาย โดยบทลงโทษของบุคคลใดที่เผาป่าในอุทยานแห่งชาติ วนอุทยาน สวนพฤกษศาสตร์ หรือสวนรุกขชาติ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 4 – 20 ปี หรือปรับตั้งแต่ 400,000 – 2,000,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับตามมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 หากประชาชนพบกรณีเกิดไฟป่ารุนแรง และไม่สามารถเข้าระงับเหตุได้ ขอให้รีบแจ้งและประสานงานไปยังศูนย์ส่งเสริมการควบคุมไฟป่าท้องที่ หน่วยส่งเสริมการควบคุมไฟป่าท้องที่ หน่วยป้องกันรักษาป่าท้องที่ที่อยู่ใกล้เคียงพื้นที่ไฟไหม้ป่า หรือ Green Call สายด่วนกรมป่าไม้ 1310 กด 3 และสายด่วนพิทักษ์ป่า 1362 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ตลอด 24 ชม. เพื่อแจ้งให้เจ้าหน้าที่เข้าปฏิบัติงานระงับเหตุไฟป่าได้ทันสถานการณ์
ที่มา : สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล
วันที่ 27 มีนาคม 2566 นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ติดตามและไม่ได้นิ่งนอนใจต่อกรณีสถานการณ์ไฟป่าและหมอกควันในจังหวัดพื้นที่ภาคเหนือที่วิกฤติ ส่งผลให้ค่าฝุ่น PM2.5 เกินมาตรฐาน กระทบต่อสุขภาพของประชาชนในขณะนี้ โดยนายกรัฐมนตรีได้กำชับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องระดมเร่งแก้ไขปัญหา เพื่อลดผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อประชาชนเป็นวงกว้างอย่างเร่งด่วนให้ทันต่อสถานการณ์ รวมทั้งบังคับใช้กฎหมายลงโทษผู้กระทำความผิดในการเผาป่าหรือการกระทำใด ๆ ที่ทำให้เกิดไฟป่าอย่างไม่ละเว้น
นายอนุชากล่าวว่า จากสถานการณ์ไฟป่าและหมอกควันในจังหวัดพื้นที่ภาคเหนือในขณะนี้ ภาครัฐโดยหน่วยปฏิบัติการฝนหลวง จังหวัดเชียงใหม่ ได้ขึ้นบินปฏิบัติการทำฝนเทียมต่อเนื่อง ในพื้นที่ประสบปัญหา 5 จังหวัดทางภาคเหนือที่วิกฤตหนักเกินมาตรฐานต่อเนื่อง ที่ล่าสุด PM2.5 ทะลุ 525 ไมครอน โดยใช้เครื่องบินเกษตร ชนิด CASA จำนวน 2 ลำ ขึ้นปฏิบัติการช่วงเวลาตั้งแต่ 10.15 น. วันที่ 26 มีนาคม 2566 ที่ผ่านมา ทำฝนหลวงในบริเวณพื้นที่เป้าหมาย จำนวน 26 พื้นที่ เพื่อช่วยบรรเทาปัญหาหมอกควันและไฟป่า และช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรที่ต้องการน้ำ โดยเน้นไปยังพื้นที่ป่าไม้ตอนเหนือของจังหวัดเชียงใหม่ อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ต่อไปยังพื้นที่ป่าไม้ อำเภอเมืองเชียงราย และพื้นที่การเกษตร อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย แล้วบินกลับมาทำฝนหลวงทางตอนใต้ของพื้นที่ป่าไม้ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน รอยต่อพื้นที่ป่าไม้ อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน และอำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ ก่อนจะลงไปทำฝนหลวงต่อยังพื้นที่การเกษตร อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง เนื่องจากในพื้นที่ดังกล่าวมีปัญหาด้านมลพิษทางอากาศ ทำให้ต้องเร่งทำให้เกิดฝนตกลงมาเพื่อชะล้างฝุ่นควัน ลดปริมาณฝุ่นควันให้ลดลง พร้อมกับทำความชุ่มชื้นในพื้นที่ป่า เพื่อไม่ให้เกิดไฟป่าเกิดขึ้นในพื้นที่ดังกล่าว ขณะที่ค่ามลพิษทางอากาศภาคเหนือเวลานี้มีค่าเกินมาตรฐานท่ามกลางสภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าว
นายอนุชากล่าวต่อไปว่า สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA เผยข้อมูลจากดาวเทียมซูโอมิ เอ็นพีพี (Suomi NPP) ของวันที่ 26 มีนาคม 2566 ไทยพบจุดความร้อน (Hot Spots) มากที่สุด 5,572 จุด สูงสุดในรอบ 5 ปี จากการเก็บสถิติที่ผ่านมา ในขณะที่เพื่อนบ้านอย่างเมียนมามีจุดความร้อนสูงถึง 10,563 จุด ตามด้วย สปป.ลาว 9,652 จุด กัมพูชา 1,342 จุด เวียดนาม 870 จุด และมาเลเซีย 22 จุด สำหรับจุดความร้อนในประเทศไทย ส่วนใหญ่พบในพื้นป่าอนุรักษ์ 2,982 จุด พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ 1,785 จุด พื้นที่เกษตร 376 จุด พื้นที่ชุมชนอื่น ๆ 207 จุด พื้นที่เขต สปก. 202 จุด และพื้นที่ริมทางหลวง 20 จุด ในส่วนของจังหวัดที่พบจุดความร้อนมากที่สุด 3 อันดับ คือ น่าน 638 จุด แม่ฮ่องสอน 558 จุด และอุตรดิตถ์ 430 จุด
นอกจากนี้ ศูนย์แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ ได้รายงานการติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศ ประจำวันที่ 27 มีนาคม 2566 ณ เวลา 07.00 น. ภาพรวมปริมาณ PM 2.5 ในประเทศพบเกินค่ามาตรฐานในจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ น่าน แม่ฮ่องสอน พะเยา ลำพูน ลำปาง แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก ตาก กำแพงเพชร พิจิตร เพชรบูรณ์ อุทัยธานี บึงกาฬ หนองคาย เลย อุดรธานี นครพนม หนองบัวลำภู ชัยภูมิ และอุบลราชธานี โดยภาคเหนือเกินค่ามาตรฐานเป็นส่วนใหญ่ ตรวจวัดได้ 37 - 537 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเกินค่ามาตรฐาน 8 พื้นที่ ตรวจวัดได้ 31 - 218 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
“นายกรัฐมนตรีขอความร่วมมือไปยังประชาชนที่ทำเกษตร หรือทำอาชีพในพื้นที่ป่า ซึ่งในช่วงนี้เป็นช่วงหน้าแล้ง ขอให้ช่วยกันระวัง ถ้าไม่จำเป็นก็อย่าจุดไฟโดยเฉพาะในพื้นที่ป่า เพราะหากเกิดเหตุแล้วความสูญเสียจะประมาณค่าไม่ได้ รวมทั้งนายกรัฐมนตรีได้กำชับไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้ง กระทรวงมหาดไทย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงการต่างประเทศ จังหวัด เทศบาล หน่วยเฉพาะกิจ บูรณาการร่วมมือกันจัดการปัญหาหมอกควัน PM2.5 ตามแผนปฏิบัติการอย่างเร่งด่วนเพื่อลดปริมาณฝุ่นละออง รวมทั้งขอให้เจ้าหน้าที่อาสาสมัครป้องกันไฟป่า ในพื้นที่ชายแดน ช่วยกันระดมดับไฟป่าบริเวณเส้นทางลัดเลาะชายแดน ที่มีไฟป่าลุกลามมาจากประเทศเพื่อนบ้านหลายจุดอย่างต่อเนื่อง พร้อมย้ำการบังคับใช้กฎหมายลงโทษผู้กระทำความผิดในการเผาป่าหรือการกระทำใด ๆ ที่ทำให้เกิดไฟป่าซึ่งสร้างความเสียหายแก่ป่าไม้และพื้นที่การเกษตร ส่งผลให้กลุ่มควันลอยปกคลุมในบริเวณกว้างและเกิดฝุ่น PM 2.5 อย่างไม่ละเว้น” นายอนุชา กล่าว
ทั้งนี้ ปัญหาไฟป่าที่เกิดจากการจุดไฟในพื้นที่ไร่ จุดไฟในพื้นที่เขตป่า จุดไฟเพื่อล่าสัตว์ หรือเพื่อเก็บของป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช มีแนวทางลงโทษตั้งแต่สถานเบาไปจนถึงหนัก เริ่มตั้งแต่การตักเตือนจนถึงขั้นดำเนินคดีตามกฎหมาย โดยบทลงโทษของบุคคลใดที่เผาป่าในอุทยานแห่งชาติ วนอุทยาน สวนพฤกษศาสตร์ หรือสวนรุกขชาติ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 4 – 20 ปี หรือปรับตั้งแต่ 400,000 – 2,000,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับตามมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 หากประชาชนพบกรณีเกิดไฟป่ารุนแรง และไม่สามารถเข้าระงับเหตุได้ ขอให้รีบแจ้งและประสานงานไปยังศูนย์ส่งเสริมการควบคุมไฟป่าท้องที่ หน่วยส่งเสริมการควบคุมไฟป่าท้องที่ หน่วยป้องกันรักษาป่าท้องที่ที่อยู่ใกล้เคียงพื้นที่ไฟไหม้ป่า หรือ Green Call สายด่วนกรมป่าไม้ 1310 กด 3 และสายด่วนพิทักษ์ป่า 1362 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ตลอด 24 ชม. เพื่อแจ้งให้เจ้าหน้าที่เข้าปฏิบัติงานระงับเหตุไฟป่าได้ทันสถานการณ์
ที่มา : สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล