โขน HANUMAN White Monkey กำหนดเปิดฉายรอบปฐมทัศน์ ในวันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๖๕ เวลา ๑๙.๐๐ น.
ณ โรงภาพยนตร์ สยามภาวลัย เธียร์เตอร์ ชั้น ๖ ศูนย์การค้าสยามพารากอน และจัดฉายรอบปกติในวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๖๕ ณ โรงภาพยนตร์เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ และโรงภาพยนตร์เอสเอฟ ซีเนม่า ทั่วประเทศ
เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณเนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และเพื่อเป็นการดำเนินตามพระราชเสาวนีย์ของ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงในการอนุรักษ์และสืบสานศิลปะการแสดงโขน อีกประการสำคัญคือเป็นการดำเนินตามพระราชปณิธานของ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี ในการสืบสาน รักษา ต่อยอด ศิลปวัฒนธรรมประจำชาติไทย เพื่อให้เกิดความยั่งยืนและสืบทอดไปสู่เยาวชนของชาติต่อไป
โขนภาพยนตร์ Khon Cinematic
HANUMAN White Monkey
ชื่อภาพยนตร์
HANUMAN White Monkey
ผู้อำนวยการสร้าง : นฤมล ล้อมทอง
ผู้กำกับภาพยนตร์ : สาโรจน์ สุวัณณาคาร
ผู้กำกับภาพยนตร์ด้านนาฏศิลป์ : ดร.ศุภชัย จันทร์สุวรรณ์ ศิลปินแห่งชาติ
อำนวยการผลิต : บริษัท สหศีนิมา จำกัดร่วมกับ กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
ดำเนินการผลิต : บริษัท ทศกัณฐ์ ฟิล์ม จำกัด และ บริษัท มีเดีย วีแคน จำกัด
ประเภทภาพยนตร์ : ภาพยนตร์ศิลปะ และวัฒนธรรม
ความยาวภาพยนตร์ : 85 นาที
โขนภาพยนตร์ HANUMAN White Monkey คือก้าวแรกของวิวัฒนาการการแสดงโขนยุคใหม่ในประเทศไทยที่เกิดขึ้นด้วยพลังการผลักดันจากบุคลากรผู้ทรงคุณวุฒิมากมาย ที่ร่วมกันขับเคลื่อนให้เกิดผลงานสร้างสรรค์งานวัฒนธรรมรูปแบบใหม่ โดยการผสมผสานศิลปะการแสดงแบบวัฒนธรรมเดิมจากบนเวที กับความสามารถของเทคโนโลยี และเทคนิคพิเศษทางด้านดิจิทัลมาช่วยแต่งเติม เสริมสร้างจินตนาการให้บทพระราชนิพนธ์รามเกียรติ์มีความสนุก ตื่นเต้น และน่าประทับใจยิ่งขึ้น ด้วยหวังว่าโขน ศิลปะการแสดงชั้นสูงจะส่งต่อ และเข้าถึงเยาวชนคนรุ่นใหม่ได้ง่ายขึ้น ทั่วถึงมากขึ้น และมีโอกาสที่จะจุดประกายให้เกิดความสนใจ ความรัก และความหวงแหนที่จะอนุรักษ์โขน และศิลปวัฒนธรรมไทยให้คงอยู่ต่อไป
เรื่องย่อ
จากมหากาพย์โลก รามายณะ สู่ รามเกียรติ์ เรื่องราวการเดินทางของ ลิงขาว “หนุมาน” ทหารเอกของพระราม กับภารกิจที่ยิ่งใหญ่เพื่อดับไฟจอมมาร บนเส้นทางที่เต็มไปด้วยอุปสรรคมากมาย ความกล้าหาญ ปฏิภาณไหวพริบ และสติปัญญา มิใช่เพียงคำตอบเดียวในการฟันฝ่าเพื่อหนทางแห่งชัยชนะ สิ่งไหนจริง สิ่งไหนลวง เป็นเรื่องราวของจุดเริ่มต้นที่นำไปสู่สิ่งสุดท้าย… การค้นพบ “สัจธรรม” ที่แท้จริง
โขนภาพยนตร์
HANUMAN White Monkey
ด้วย พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อศิลปะการแสดง “โขน” นาฏศิลป์ชั้นสูงของไทย และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงเอาพระราชหฤทัยใส่ในการทำนุบำรุงมรดกศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาของชนชาติไทย โดยเฉพาะศิลปะการแสดงโขนตลอดมา นับเป็นโชคของชาวไทยที่สมบัติของชาติแขนงนี้ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณปกเกล้าปกกระหม่อมจาก พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ทรงดูแลส่งเสริมศิลปะแขนงนี้ให้ดำรงคงอยู่มาจนถึงปัจจุบัน โดยคณะกรรมการ บริษัท สหศีนิมา จำกัด ตระหนักถึงความสำคัญจึงได้ดำเนินการตามรอยพระยุคลบาทในการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมของชาติ จัดการแสดงโขน ณ โรงมหรสพหลวงศาลาเฉลิมกรุง มาตั้งแต่ปี ๒๕๔๘ อย่างต่อเนื่องตลอดมา โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี ทรงพระกรุณา โปรดเกล้า ฯ พระราชทานให้จัดการแสดงโขนสำหรับนักท่องเที่ยวขึ้น ณ โรงมหรสพหลวงศาลาเฉลิมกรุง เพื่อเป็นการสืบสาน รักษา ต่อยอด ศิลปะการแสดง “โขน” ให้เป็นที่ประจักษ์สู่สายตาประชาคมโลก มาตั้งแต่ปี ๒๕๖๑ จวบจนถึงปัจจุบัน
บริษัท สหศีนิมา จำกัด ร่วมกับ กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ และกระทรวงวัฒนธรรม ดำเนินการจัดโครงการผลิตโขนภาพยนตร์ HANUMAN White Monkey ขึ้น ซึ่งเกิดจากแนวคิด “Goes Digital โลกเปิด เราปรับ ประเทศเปลี่ยน” โดยการผสมผสานศิลปะการแสดงวัฒนธรรมแบบเดิมที่เกิดขึ้นบนเวทีกับเทคนิคทางด้านดิจิทัลคอมพิวเตอร์กราฟิก และเทคนิคพิเศษของภาพยนตร์ มาสร้างสรรค์เพื่อสร้างเสริม แรงบันดาลใจและจินตนาการให้กับเรื่องราวของโขนรามเกียรติ์ ในรูปแบบของโขนภาพยนตร์ ให้ผู้ชมได้รับความสนุก ตื่นเต้น และประทับใจยิ่งขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้ชมยุคใหม่ อีกทั้งเพื่อเป็นการเผยแพร่เอกลักษณ์ของศิลปะการแสดงประจำชาติของไทยไปสู่สากล โดยใช้บุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านนาฏศิลป์โขนจากหลากหลายสถาบัน และนักแสดงโขนจากโรงมหรสพหลวงศาลาเฉลิมกรุงร่วมแสดง
โขนภาพยนตร์ HANUMAN White Monkey อำนวยการสร้างภาพยนตร์โดย นางนฤมล ล้อมทอง กรรมการผู้จัดการ บริษัท สหศีนิมา จำกัด กำกับภาพยนตร์โดย นายสาโรจน์ สุวัณณาคาร บทภาพยนตร์โดย นายสาโรจน์ สุวัณณาคาร นายจรัญ พูลลาภ นำรูปแบบการแสดงโขน ณ โรงมหรสพหลวงศาลาเฉลิมกรุง มาเป็นหลักในการผลิตภาพยนตร์ ทั้งด้านการดำเนินเรื่อง การแต่งกาย ท่ารำแบบนาฏศิลป์ไทย รวมถึงขนบธรรมเนียม จารีตต่างๆที่ใช้ในการแสดงโขน และนำสิ่งต่างๆ เหล่านี้ที่มีอยู่เดิม นำมาสร้างสรรค์ให้เกิดเป็นผลงานทางวัฒนธรรมในรูปแบบภาพยนตร์ที่น่าตื่นตาตื่นใจ เติมเต็มจินตนาการจากวรรณกรรมให้สมจริง และคนทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย สามารถเข้าถึงผลงานทางวัฒนธรรมชิ้นนี้ได้ทั่วโลก การผสมผสานสิ่งที่มีอยู่เดิมและความเป็นสมัยใหม่เข้าด้วยกันนั้น ต่างต้องปรับมุมมอง และหาพื้นที่ตรงกลางเพื่อเป็นจุดเชื่อมทำให้การดำเนินเรื่องราวแบบภาพยนตร์สามารถดำเนินไปพร้อมกับจารีตดั้งเดิมของการแสดงโขน โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านนาฏศิลป์โขนที่มาด้วยฝีมือ ความรู้ และประสบการณ์ นำโดย รศ.ดร.ศุภชัย จันทร์สุวรรณ์ (ศิลปินแห่งชาติ) ผู้กำกับการแสดโขนศาลาเฉลิมกรุง พร้อมทั้งคณะครูที่ปรึกษาฝ่ายการแสดงโขนอีกหลายท่าน ร่วมมือกันหาจุดเชื่อมระหว่างความเป็นโขนและความเป็นภาพยนตร์ให้เข้ากันได้อย่างลงตัวและสวยงาม
จุดสำคัญที่ทำให้เกิดแนวคิดในการผลิตโขนภาพยนตรต์คือ คนส่วนมากอาจคิดว่างานอนุรักษ์ต้องอยู่กับที่ไม่เปลี่ยนแปลง แต่ในความเป็นจริงแล้วนั้นงานอนุรักษ์สามารถปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงได้ โขนซึ่งเป็นมรดกของโลก เป็นสิ่งที่ควรจะช่วยกันอนุรักษ์ เผยแพร่ และให้อยู่ร่วมกับคนไทยได้ในทุกยุคทุกสมัย ไม่ว่าโลกจะเปลี่ยนไป แต่โขนสามารถยืนหยัดและตามไปในทุกยุคได้ จากโขนที่หาชมยากสามารถทำให้เป็นภาพยนตร์ ไม่ว่าจะอยู่ในโลกใบนี้ ทุกคนก็สามารถรับชมได้
โดยนำความเป็นวัฒนธรรมดั้งเดิมกับเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาผสมผสานกันจนเกิดผลงานที่ทรงคุณค่าและเข้าถึงได้ง่าย การหยิบนำภูมิปัญญาด้านศิลปนาฏกรรมชั้นสูงของไทยมาต่อยอดให้มีชีวิตต่อไปในครั้งนี้ นับเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งในเชิงของประวัติศาสตร์ ซึ่งนับเป็นวิวัฒนาการหนึ่งที่นับว่าเป็นวิวัฒนาการแบบใหม่ของศิลปะการแสดงโขน โดยในอดีตนั้นการแสดงโขนได้ถูกพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งเป็นโขนรูปแบบที่ในยุคปัจจุบันใช้จัดแสดงรวมถึงโขนศาลาเฉลิมกรุง คือ โขนฉาก ซึ่งการสร้างสรรค์ผลงานทางวัฒนธรรมในครั้งนี้ ได้ต่อยอดจากโขนฉากบนเวทีสู่จอภาพยนตร์ นับเป็นการนำศิลปะการแสดงโขนก้าวสู่วิวัฒนาการอีกขั้นหนึ่ง
โขนมีจุดเริ่มต้นจากวิวัฒนาการจากโขนกลางแปลง โขนนั่งราว โขนหน้าจอ โขนโรงใน โขนฉาก โขนชักรอกและโขนสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ จนมาถึงโขนภาพยนตร์ ในรัชสมัยของในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน ซึ่งถ่ายทอดโดยนำความเรียบง่ายของคำว่า HANUMAN White Monkey มาใช้เป็นชื่อในการสื่อสารกับภาพยนตร์ชุดนี้ นอกจาก “หนุมาน” ขุนศึกตัวเอกในการดำเนินเรื่องจะเป็น “ลิงสีขาว” เพียงตัวเดียวแล้ว ยังใช้ชื่อเพื่อแทนความหมายของ “สีขาว” ตามจิตวิทยาของความรู้สึกของสีมาแทนค่า แทนความบริสุทธิ์ สันติภาพ ความสงบ ความดี ความเรียบง่าย และความหลุดพ้น ซึ่งหนุมานตัวเอกจะนำพาผู้ชมไปค้นหาคำตอบและจุดหมายปลายทางนั้นในตอนจบ
ความพิเศษของการผลิตโขนภาพยนตร์เรื่องนี้ สิ่งที่ผู้ชมจะเห็นได้อย่างชัดเจนคือการออกแบบงานศิลป์ในภาพยนตร์ ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากและท้าทายสำหรับผู้ออกแบบงานศิลป์ เนื่องจากเป็นการถ่ายทำแบบ blue screen ทั้งหมด จึงต้องสร้างสรรค์งานภาพจาก Computer graphic โดยถอดรหัสและตีความจากเรื่องราวของโขนรามเกียรติ์และข้อมูลจากครูผู้เชี่ยวชาญด้านโขน เพื่อสามารถผลักดันหรือขับเคลื่อนการเล่าเรื่องรามเกียรติ์ในรูปแบบภาพยนตร์ให้ดีที่สุดในด้านสุนทรียภาพ อีกหนึ่งความพิเศษของโขนภาพยนตร์คือ ดนตรีประกอบภาพยนตร์ การนำดนตรีไทยแบบ “ปี่พาทย์” ผสมผสานกับดนตรีแบบตะวันตก ผู้สร้างงานได้หาวิธีคิด หามุมมองในด้านของดนตรี เพื่อใส่เข้าไปในการแสดงภาพยนตร์ ดนตรีจึงเป็นอีกสิ่งหนึ่งทำให้ผู้ชมรู้สึกตื่นเต้น สนุก และไม่น่าเบื่อ ครบรสทั้งรูปแบบเพลงไทยเดิม รูปแบบออร์เคสตรา และรูปแบบเพลงร็อค ซึ่งสามารถนำเสียงเพลงเหล่านี้มาประกอบกับโขนภาพยนตร์อย่างลงตัว นอกจากเสียงดนตรีแล้ว ยังมีเสียงพากย์แบบที่ใช้ในการแสดงโขนการขับร้องเพลงไทย และการแรป ทั้งหมดเหล่านี้สามารถนำมาอยู่ในโขนภาพยนตร์ได้อย่างดีอย่างน่าเหลือเชื่อ
ด้านผู้แสดง ล้วนเป็นนักแสดงโขนศาลาเฉลิมกรุง และนักแสดงที่มีความสามารถด้านนาฏศิลป์โขนจากสถาบันต่างๆ ที่ผ่านการคัดเลือกโดยผู้กำกับภาพยนตร์และครูผู้เชี่ยวชาญด้านโขน สำหรับเสียงร้อง เสียงพากย์ และเสียงเจรจาในภาพยนตร์ฉบับนี้ ให้เสียงโดยนักแสดงของศาลาเฉลิมกรุงในทุกบท นอกจากนี้ได้ศิลปินรับเชิญพิเศษ เก่ง ธชย ประทุมวรรณ มารับบทร้องและบทพากย์ของหนุมาน พร้อมด้วยความพิเศษสุดกับโขนภาพยนตร์ซึ่ง เก่ง ธชย ได้ร้องเพลงแรป(Rap) ถ่ายทอดลงในภาพยนตร์ ซึ่งถือว่าเป็นศิลปินที่มีความสามารถเพราะสามารถใช้เสียงได้อย่างหลากหลาย และช่วยส่งอารมณ์ความรู้สึกในการดูโขนภาพยนตร์ได้อย่างอรรถรส ซึ่งจะช่วยดึงความสนใจจากผู้ชมที่เป็นเด็กและเยาวชนคนรุ่นใหม่ได้ดี โขนภาพยนตร์เรื่องนี้จึงนับว่าเป็นการดึงศักยภาพ ความสามารถ ฝีมือ ของนักแสดงออกมาใช้ ให้คนไทยและคนทั้งโลกได้เห็นถึงคุณค่าของการเรียนศิลปะการแสดงที่ชื่อว่า “โขน” เพื่อช่วยกันรักษา พัฒนา ให้โขนสามารถวิวัฒนาการต่อไปไม่ว่าโลกจะปรับเปลี่ยนไปกี่ยุคสมัยก็ตาม
ทั้งนี้ โขน HANUMAN White Monkey ได้ดำเนินการผลิตเสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อย มีกำหนดเปิดฉายรอบปฐมทัศน์ ในวันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๖๕ เวลา ๑๙.๐๐ น. ณ โรงภาพยนตร์ สยามภาวลัย เธียร์เตอร์ ชั้น ๖ ศูนย์การค้าสยามพารากอน และจัดฉายรอบปกติในวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๖๕ ณ โรงภาพยนตร์เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ และโรงภาพยนตร์เอสเอฟ ซีเนม่า ทั่วประเทศ เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณเนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และเพื่อเป็นการดำเนินตามพระราชเสาวนีย์ของ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงในการอนุรักษ์และสืบสานศิลปะการแสดงโขน อีกประการสำคัญคือเป็นการดำเนินตามพระราชปณิธานของ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี ในการสืบสาน รักษา ต่อยอด ศิลปวัฒนธรรมประจำชาติไทย เพื่อให้เกิดความยั่งยืนและสืบทอดไปสู่เยาวชนของชาติต่อไป
เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณเนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และเพื่อเป็นการดำเนินตามพระราชเสาวนีย์ของ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงในการอนุรักษ์และสืบสานศิลปะการแสดงโขน อีกประการสำคัญคือเป็นการดำเนินตามพระราชปณิธานของ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี ในการสืบสาน รักษา ต่อยอด ศิลปวัฒนธรรมประจำชาติไทย เพื่อให้เกิดความยั่งยืนและสืบทอดไปสู่เยาวชนของชาติต่อไป
โขนภาพยนตร์ Khon Cinematic
HANUMAN White Monkey
ชื่อภาพยนตร์
HANUMAN White Monkey
ผู้อำนวยการสร้าง : นฤมล ล้อมทอง
ผู้กำกับภาพยนตร์ : สาโรจน์ สุวัณณาคาร
ผู้กำกับภาพยนตร์ด้านนาฏศิลป์ : ดร.ศุภชัย จันทร์สุวรรณ์ ศิลปินแห่งชาติ
อำนวยการผลิต : บริษัท สหศีนิมา จำกัดร่วมกับ กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
ดำเนินการผลิต : บริษัท ทศกัณฐ์ ฟิล์ม จำกัด และ บริษัท มีเดีย วีแคน จำกัด
ประเภทภาพยนตร์ : ภาพยนตร์ศิลปะ และวัฒนธรรม
ความยาวภาพยนตร์ : 85 นาที
โขนภาพยนตร์ HANUMAN White Monkey คือก้าวแรกของวิวัฒนาการการแสดงโขนยุคใหม่ในประเทศไทยที่เกิดขึ้นด้วยพลังการผลักดันจากบุคลากรผู้ทรงคุณวุฒิมากมาย ที่ร่วมกันขับเคลื่อนให้เกิดผลงานสร้างสรรค์งานวัฒนธรรมรูปแบบใหม่ โดยการผสมผสานศิลปะการแสดงแบบวัฒนธรรมเดิมจากบนเวที กับความสามารถของเทคโนโลยี และเทคนิคพิเศษทางด้านดิจิทัลมาช่วยแต่งเติม เสริมสร้างจินตนาการให้บทพระราชนิพนธ์รามเกียรติ์มีความสนุก ตื่นเต้น และน่าประทับใจยิ่งขึ้น ด้วยหวังว่าโขน ศิลปะการแสดงชั้นสูงจะส่งต่อ และเข้าถึงเยาวชนคนรุ่นใหม่ได้ง่ายขึ้น ทั่วถึงมากขึ้น และมีโอกาสที่จะจุดประกายให้เกิดความสนใจ ความรัก และความหวงแหนที่จะอนุรักษ์โขน และศิลปวัฒนธรรมไทยให้คงอยู่ต่อไป
เรื่องย่อ
จากมหากาพย์โลก รามายณะ สู่ รามเกียรติ์ เรื่องราวการเดินทางของ ลิงขาว “หนุมาน” ทหารเอกของพระราม กับภารกิจที่ยิ่งใหญ่เพื่อดับไฟจอมมาร บนเส้นทางที่เต็มไปด้วยอุปสรรคมากมาย ความกล้าหาญ ปฏิภาณไหวพริบ และสติปัญญา มิใช่เพียงคำตอบเดียวในการฟันฝ่าเพื่อหนทางแห่งชัยชนะ สิ่งไหนจริง สิ่งไหนลวง เป็นเรื่องราวของจุดเริ่มต้นที่นำไปสู่สิ่งสุดท้าย… การค้นพบ “สัจธรรม” ที่แท้จริง
โขนภาพยนตร์
HANUMAN White Monkey
ด้วย พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อศิลปะการแสดง “โขน” นาฏศิลป์ชั้นสูงของไทย และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงเอาพระราชหฤทัยใส่ในการทำนุบำรุงมรดกศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาของชนชาติไทย โดยเฉพาะศิลปะการแสดงโขนตลอดมา นับเป็นโชคของชาวไทยที่สมบัติของชาติแขนงนี้ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณปกเกล้าปกกระหม่อมจาก พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ทรงดูแลส่งเสริมศิลปะแขนงนี้ให้ดำรงคงอยู่มาจนถึงปัจจุบัน โดยคณะกรรมการ บริษัท สหศีนิมา จำกัด ตระหนักถึงความสำคัญจึงได้ดำเนินการตามรอยพระยุคลบาทในการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมของชาติ จัดการแสดงโขน ณ โรงมหรสพหลวงศาลาเฉลิมกรุง มาตั้งแต่ปี ๒๕๔๘ อย่างต่อเนื่องตลอดมา โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี ทรงพระกรุณา โปรดเกล้า ฯ พระราชทานให้จัดการแสดงโขนสำหรับนักท่องเที่ยวขึ้น ณ โรงมหรสพหลวงศาลาเฉลิมกรุง เพื่อเป็นการสืบสาน รักษา ต่อยอด ศิลปะการแสดง “โขน” ให้เป็นที่ประจักษ์สู่สายตาประชาคมโลก มาตั้งแต่ปี ๒๕๖๑ จวบจนถึงปัจจุบัน
บริษัท สหศีนิมา จำกัด ร่วมกับ กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ และกระทรวงวัฒนธรรม ดำเนินการจัดโครงการผลิตโขนภาพยนตร์ HANUMAN White Monkey ขึ้น ซึ่งเกิดจากแนวคิด “Goes Digital โลกเปิด เราปรับ ประเทศเปลี่ยน” โดยการผสมผสานศิลปะการแสดงวัฒนธรรมแบบเดิมที่เกิดขึ้นบนเวทีกับเทคนิคทางด้านดิจิทัลคอมพิวเตอร์กราฟิก และเทคนิคพิเศษของภาพยนตร์ มาสร้างสรรค์เพื่อสร้างเสริม แรงบันดาลใจและจินตนาการให้กับเรื่องราวของโขนรามเกียรติ์ ในรูปแบบของโขนภาพยนตร์ ให้ผู้ชมได้รับความสนุก ตื่นเต้น และประทับใจยิ่งขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้ชมยุคใหม่ อีกทั้งเพื่อเป็นการเผยแพร่เอกลักษณ์ของศิลปะการแสดงประจำชาติของไทยไปสู่สากล โดยใช้บุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านนาฏศิลป์โขนจากหลากหลายสถาบัน และนักแสดงโขนจากโรงมหรสพหลวงศาลาเฉลิมกรุงร่วมแสดง
โขนภาพยนตร์ HANUMAN White Monkey อำนวยการสร้างภาพยนตร์โดย นางนฤมล ล้อมทอง กรรมการผู้จัดการ บริษัท สหศีนิมา จำกัด กำกับภาพยนตร์โดย นายสาโรจน์ สุวัณณาคาร บทภาพยนตร์โดย นายสาโรจน์ สุวัณณาคาร นายจรัญ พูลลาภ นำรูปแบบการแสดงโขน ณ โรงมหรสพหลวงศาลาเฉลิมกรุง มาเป็นหลักในการผลิตภาพยนตร์ ทั้งด้านการดำเนินเรื่อง การแต่งกาย ท่ารำแบบนาฏศิลป์ไทย รวมถึงขนบธรรมเนียม จารีตต่างๆที่ใช้ในการแสดงโขน และนำสิ่งต่างๆ เหล่านี้ที่มีอยู่เดิม นำมาสร้างสรรค์ให้เกิดเป็นผลงานทางวัฒนธรรมในรูปแบบภาพยนตร์ที่น่าตื่นตาตื่นใจ เติมเต็มจินตนาการจากวรรณกรรมให้สมจริง และคนทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย สามารถเข้าถึงผลงานทางวัฒนธรรมชิ้นนี้ได้ทั่วโลก การผสมผสานสิ่งที่มีอยู่เดิมและความเป็นสมัยใหม่เข้าด้วยกันนั้น ต่างต้องปรับมุมมอง และหาพื้นที่ตรงกลางเพื่อเป็นจุดเชื่อมทำให้การดำเนินเรื่องราวแบบภาพยนตร์สามารถดำเนินไปพร้อมกับจารีตดั้งเดิมของการแสดงโขน โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านนาฏศิลป์โขนที่มาด้วยฝีมือ ความรู้ และประสบการณ์ นำโดย รศ.ดร.ศุภชัย จันทร์สุวรรณ์ (ศิลปินแห่งชาติ) ผู้กำกับการแสดโขนศาลาเฉลิมกรุง พร้อมทั้งคณะครูที่ปรึกษาฝ่ายการแสดงโขนอีกหลายท่าน ร่วมมือกันหาจุดเชื่อมระหว่างความเป็นโขนและความเป็นภาพยนตร์ให้เข้ากันได้อย่างลงตัวและสวยงาม
จุดสำคัญที่ทำให้เกิดแนวคิดในการผลิตโขนภาพยนตรต์คือ คนส่วนมากอาจคิดว่างานอนุรักษ์ต้องอยู่กับที่ไม่เปลี่ยนแปลง แต่ในความเป็นจริงแล้วนั้นงานอนุรักษ์สามารถปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงได้ โขนซึ่งเป็นมรดกของโลก เป็นสิ่งที่ควรจะช่วยกันอนุรักษ์ เผยแพร่ และให้อยู่ร่วมกับคนไทยได้ในทุกยุคทุกสมัย ไม่ว่าโลกจะเปลี่ยนไป แต่โขนสามารถยืนหยัดและตามไปในทุกยุคได้ จากโขนที่หาชมยากสามารถทำให้เป็นภาพยนตร์ ไม่ว่าจะอยู่ในโลกใบนี้ ทุกคนก็สามารถรับชมได้
โดยนำความเป็นวัฒนธรรมดั้งเดิมกับเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาผสมผสานกันจนเกิดผลงานที่ทรงคุณค่าและเข้าถึงได้ง่าย การหยิบนำภูมิปัญญาด้านศิลปนาฏกรรมชั้นสูงของไทยมาต่อยอดให้มีชีวิตต่อไปในครั้งนี้ นับเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งในเชิงของประวัติศาสตร์ ซึ่งนับเป็นวิวัฒนาการหนึ่งที่นับว่าเป็นวิวัฒนาการแบบใหม่ของศิลปะการแสดงโขน โดยในอดีตนั้นการแสดงโขนได้ถูกพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งเป็นโขนรูปแบบที่ในยุคปัจจุบันใช้จัดแสดงรวมถึงโขนศาลาเฉลิมกรุง คือ โขนฉาก ซึ่งการสร้างสรรค์ผลงานทางวัฒนธรรมในครั้งนี้ ได้ต่อยอดจากโขนฉากบนเวทีสู่จอภาพยนตร์ นับเป็นการนำศิลปะการแสดงโขนก้าวสู่วิวัฒนาการอีกขั้นหนึ่ง
โขนมีจุดเริ่มต้นจากวิวัฒนาการจากโขนกลางแปลง โขนนั่งราว โขนหน้าจอ โขนโรงใน โขนฉาก โขนชักรอกและโขนสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ จนมาถึงโขนภาพยนตร์ ในรัชสมัยของในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน ซึ่งถ่ายทอดโดยนำความเรียบง่ายของคำว่า HANUMAN White Monkey มาใช้เป็นชื่อในการสื่อสารกับภาพยนตร์ชุดนี้ นอกจาก “หนุมาน” ขุนศึกตัวเอกในการดำเนินเรื่องจะเป็น “ลิงสีขาว” เพียงตัวเดียวแล้ว ยังใช้ชื่อเพื่อแทนความหมายของ “สีขาว” ตามจิตวิทยาของความรู้สึกของสีมาแทนค่า แทนความบริสุทธิ์ สันติภาพ ความสงบ ความดี ความเรียบง่าย และความหลุดพ้น ซึ่งหนุมานตัวเอกจะนำพาผู้ชมไปค้นหาคำตอบและจุดหมายปลายทางนั้นในตอนจบ
ความพิเศษของการผลิตโขนภาพยนตร์เรื่องนี้ สิ่งที่ผู้ชมจะเห็นได้อย่างชัดเจนคือการออกแบบงานศิลป์ในภาพยนตร์ ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากและท้าทายสำหรับผู้ออกแบบงานศิลป์ เนื่องจากเป็นการถ่ายทำแบบ blue screen ทั้งหมด จึงต้องสร้างสรรค์งานภาพจาก Computer graphic โดยถอดรหัสและตีความจากเรื่องราวของโขนรามเกียรติ์และข้อมูลจากครูผู้เชี่ยวชาญด้านโขน เพื่อสามารถผลักดันหรือขับเคลื่อนการเล่าเรื่องรามเกียรติ์ในรูปแบบภาพยนตร์ให้ดีที่สุดในด้านสุนทรียภาพ อีกหนึ่งความพิเศษของโขนภาพยนตร์คือ ดนตรีประกอบภาพยนตร์ การนำดนตรีไทยแบบ “ปี่พาทย์” ผสมผสานกับดนตรีแบบตะวันตก ผู้สร้างงานได้หาวิธีคิด หามุมมองในด้านของดนตรี เพื่อใส่เข้าไปในการแสดงภาพยนตร์ ดนตรีจึงเป็นอีกสิ่งหนึ่งทำให้ผู้ชมรู้สึกตื่นเต้น สนุก และไม่น่าเบื่อ ครบรสทั้งรูปแบบเพลงไทยเดิม รูปแบบออร์เคสตรา และรูปแบบเพลงร็อค ซึ่งสามารถนำเสียงเพลงเหล่านี้มาประกอบกับโขนภาพยนตร์อย่างลงตัว นอกจากเสียงดนตรีแล้ว ยังมีเสียงพากย์แบบที่ใช้ในการแสดงโขนการขับร้องเพลงไทย และการแรป ทั้งหมดเหล่านี้สามารถนำมาอยู่ในโขนภาพยนตร์ได้อย่างดีอย่างน่าเหลือเชื่อ
ด้านผู้แสดง ล้วนเป็นนักแสดงโขนศาลาเฉลิมกรุง และนักแสดงที่มีความสามารถด้านนาฏศิลป์โขนจากสถาบันต่างๆ ที่ผ่านการคัดเลือกโดยผู้กำกับภาพยนตร์และครูผู้เชี่ยวชาญด้านโขน สำหรับเสียงร้อง เสียงพากย์ และเสียงเจรจาในภาพยนตร์ฉบับนี้ ให้เสียงโดยนักแสดงของศาลาเฉลิมกรุงในทุกบท นอกจากนี้ได้ศิลปินรับเชิญพิเศษ เก่ง ธชย ประทุมวรรณ มารับบทร้องและบทพากย์ของหนุมาน พร้อมด้วยความพิเศษสุดกับโขนภาพยนตร์ซึ่ง เก่ง ธชย ได้ร้องเพลงแรป(Rap) ถ่ายทอดลงในภาพยนตร์ ซึ่งถือว่าเป็นศิลปินที่มีความสามารถเพราะสามารถใช้เสียงได้อย่างหลากหลาย และช่วยส่งอารมณ์ความรู้สึกในการดูโขนภาพยนตร์ได้อย่างอรรถรส ซึ่งจะช่วยดึงความสนใจจากผู้ชมที่เป็นเด็กและเยาวชนคนรุ่นใหม่ได้ดี โขนภาพยนตร์เรื่องนี้จึงนับว่าเป็นการดึงศักยภาพ ความสามารถ ฝีมือ ของนักแสดงออกมาใช้ ให้คนไทยและคนทั้งโลกได้เห็นถึงคุณค่าของการเรียนศิลปะการแสดงที่ชื่อว่า “โขน” เพื่อช่วยกันรักษา พัฒนา ให้โขนสามารถวิวัฒนาการต่อไปไม่ว่าโลกจะปรับเปลี่ยนไปกี่ยุคสมัยก็ตาม
ทั้งนี้ โขน HANUMAN White Monkey ได้ดำเนินการผลิตเสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อย มีกำหนดเปิดฉายรอบปฐมทัศน์ ในวันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๖๕ เวลา ๑๙.๐๐ น. ณ โรงภาพยนตร์ สยามภาวลัย เธียร์เตอร์ ชั้น ๖ ศูนย์การค้าสยามพารากอน และจัดฉายรอบปกติในวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๖๕ ณ โรงภาพยนตร์เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ และโรงภาพยนตร์เอสเอฟ ซีเนม่า ทั่วประเทศ เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณเนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และเพื่อเป็นการดำเนินตามพระราชเสาวนีย์ของ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงในการอนุรักษ์และสืบสานศิลปะการแสดงโขน อีกประการสำคัญคือเป็นการดำเนินตามพระราชปณิธานของ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี ในการสืบสาน รักษา ต่อยอด ศิลปวัฒนธรรมประจำชาติไทย เพื่อให้เกิดความยั่งยืนและสืบทอดไปสู่เยาวชนของชาติต่อไป
ที่มา: กระทรวงวัฒนธรรม, กรมประชาสัมพันธ์